บริการของเรา

Pure Polyurea

1. Polyurea คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่
อย่างที่แนะนำไปข้างต้นเลยครับว่า Polyurea คือระบบกันซึมที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบันนี้ เนื่องจากใช้ได้หลากหลายบริเวณ เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาพื้นผิว และที่สำคัญกันซึมได้ 100%

Polyurea สามารถอยู่ตัวได้เร็วมาก โดยส่วนประกอบที่มีความแข็งแรงทนทานและยืดหยุ่นสูง ได้รับมาจากปฏิกิริยาระหว่างไอโซไซยาเนต พรีโพลีเมอร์ และการผสมระหว่างเอมีนและเรซิ่น ผลิตภัณฑ์นี้จะทำปฏิกิริยาภายในเวลาไม่กี่วินาที และเคลือบพื้นผิวเอาไว้ ทำให้ช่วยบำรุงรักษาพื้นผิวได้อย่างดี

ครั้งแรกที่มีการนำเคมีโพลิเมอร์ (Polymers) มาใช้ในวงการอุตสาหกรรม คือประมาณช่วงปี 1800 จากนั้นก็มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จนปี 1970 ก็มีการคิดค้น Polyurethane เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ก่อนจะพัฒนาเพิ่มเติมจนกลายเป็นเทคโนโลยี Polyurea และถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ก่อนจะพัฒนาให้สามารถใช้ในรูปแบบของสเปรย์ ซึ่งรูปแบบสเปรย์นี้เอง ที่ถูกใช้มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

2. ประเภทของ Polyurea
Polyurea ถ้าแบ่งตามวัสดุที่นำมาใช้งาน จะสามารถแบ่งได้หลักๆ 3 ประเภท ดังนี้ครับ

1) Rim Polyurea
ประเภทแรกเรียกได้ว่าเป็น Polyurea ที่มีคุณภาพต่ำที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์นะครับ เพราะ Polyurea ชนิดนี้มักนำมาใช้ในงานขึ้นรูปต่างๆ คุณสมบัติไม่ทนต่อสารเคมีและสามารถกันซึมได้บ้าง

ที่สำคัญคือมีอายุการใช้งานแค่ 1-3 ปี จึงไม่เหมาะที่เพื่อน ๆ ผู้อ่านจะนำไปใช้กับงานกันซึมต่างๆ เช่น การเคลือบแท็งก์น้ำ เป็นต้น

2) Hybrid Polyurea
มาต่อกันที่ประเภทที่ 2 เป็น Polyurea ที่มีส่วนผสมของ Polyurethane เรียกได้ว่าเป็นลูกผสมก็ได้ครับ

คุณสมบัติทั่วไปดีกว่า Rim Polyurea แต่ไม่เหมาะกับการใช้ในงานกันซึมที่มีการสัมผัสน้ำตลอดเวลา อย่างบ่อหรือแท็งค์น้ำ เนื่องจาก Hybrid Polyurea จะทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้สลายตัวได้ง่าย จึงไม่สามารถใช้กับงานกันซึมที่ต้องสัมผัสน้ำหรือมีน้ำขังตลอด เพราะถ้านำมาใช้จะมีอายุการใช้งานเพียง 2-5 ปีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม Hybrid Polyurea นี้เหมาะมากๆ กับงานกันซึมสำหรับพื้นที่เปิดขนาดใหญ่ ที่น้ำสามารถระเหยออกไปได้ อย่างหลังคาหรือดาดฟ้า เพราะถ้านำมาใช้เพื่อทำพื้นกันซึมบนดาดฟ้าดังกล่าว จะมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี บวกกับราคาที่ไม่สูงมากนัก ทำให้ Hybrid Polyurea เหมาะกับงานหลังคาหรือดาดฟ้ามากที่สุดในทั้ง 3 ชนิด

3) Pure Polyurea
ประเภทสุดท้ายเป็น Polyurea ที่แห้งตัวด้วยเทคโนโลยีที่รียกว่า Auto cure สามารถแห้งตัวได้อย่างรวดเร็วแม้อุณหภูมิต่ำถึง -30 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือไม่มีสาร Catalyst ที่เป็นสารเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้แห้งเร็ว พูดง่าย ๆ ว่าแห้งเร็วแถมกันน้ำได้ 100% ครับ

แต่เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง จึงไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่กว้างอย่างหลังคา หรือดาดฟ้า เพราะจะเป็นงานที่ใช้ต้นทุนสูงเกินไป จะค่อนข้าง Overspec ครับ นิยมนำมาใช้ใน เคลือบในบ่อหรือแท็งค์น้ำมากกว่า

3. ลักษณะโดยทั่วไปของ Polyurea
Polyurea เป็นสารที่ทำปฏิกิริยาเร็วมาก ไม่จำเป็นต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยาเลยลักษณะทางกายภาพหลังจากที่แห้งแล้วจะเป็นของแข็ง 100% ครับ ไม่มีตัวทำละลายและไม่มีสารอินทรีย์ระเหยง่ายอย่างพวก VOC ไม่มีกลิ่น ที่สำคัญคือป้องกัน UV ได้เป็นอย่างดี ถ้าเคยเห็นพี่ๆ ช่างทำงานจะรู้เลยว่า พ่นสเปรย์ไปแค่แป๊บเดียวก็แห้งแล้ว เร็วมากจริงๆ ทำให้ลดต้นทุนด้านเวลาได้มากเลยครับ

4. Polyurea เหมาะกับการนำไปใช้กับงานประเภทใด
Polyurea มีความต้านทานแรงดึงและความแข็งแรงดีเยี่ยมเลยครับ ความสามารถในการยืดหยุ่นสูง ทำให้ทนต่อแรงกระแทกได้มากและไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยแตกลายงาได้

จึงทำให้ Polyurea ถูกนำไปใช้ได้ในงานหลายประเภท ซึ่งเหมาะแก่การใช้งานในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ โค้ง หรืออาจะเป็นที่ที่ต้องการการปกป้องจากสนิม การซึมของน้ำ การแตกจากความเค้นและความกดดัน นอกจากนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ไม่ติดไฟ และทนทานต่อต่ออากาศร้อนได้สูงซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศของประเทศไทยอย่างมาก

5. ลักษณะงานที่นิยมใช้ Polyurea
อย่างที่บอกไปเลยครับว่า Polyurea สามารถใช้ได้ในหลาย ๆ งานไม่ว่าจะเป็น

การเคลือบเพื่อทำเป็นวัสดุทนเคมีสูง บ่อบำบัดน้ำเสีย ทนกรด – ด่าง

การใช้ร่วมกับคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อผลิตโครงสร้างอาคารที่สามารถดูดซับแรงอัดจากระเบิด
การใช้กันซึมดาดฟ้าที่ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน เป็นวัสดุกันซึมที่ดีและไม่เป็นพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การใช้ในการเคลือบแท็งค์ สามารถต้านทานแรงดึงจากรอยแตกร้าวของแท็งค์
6. Polyurea ต่างจาก Epoxy หรือ Polyurethane (PU) ยังไง?
เพื่อน ๆ ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมน่าจะคุ้นเคยกับ Epoxy และ PU ดี เพราะมีการใช้งานค่อนข้างแพร่หลายพอสมควร

แต่สำหรับ Polyurea ที่ถูกใช้ในปัจจุบันจะเป็นแบบสเปรย์ ซึ่งทำให้ใช้งานง่าย บวกกับคุณสมบัติการป้องกันการรั่วซึมได้ 100% ป้องกันความร้อนได้ดี

แตกต่างจากการใช้งาน Epoxy ที่เมื่อใช้งานไปสักระยะจะมีการพองเกิดขึ้น เพราะ Epoxy ไม่สามารถกันน้ำได้ 100% จึงทำให้อาจมีการรั่วซึมของน้ำจากตัวพื้นและทำให้เกิดการพองตัวและหลุดร่อนออกมา นอกจากนี้ยังไม่ทนต่อแสง UV และไม่สามารถทนความร้อนได้เกิน 40 องศาเซลเซียส

ส่วนการใช้งานของ PU จะมีข้อเสียที่ไม่ทนความร้อน ที่สำคัญคือติดไฟได้ง่ายและรวดเร็ว ที่สำคัญคือเมื่อติดไฟจะเกิดควันเยอะมาก และแก๊สที่ระเหยออกมาจะเป็นพิษซึ่งอาจะเป็นอันตรายได้

แต่ที่น่าหนักใจของ PU คือ กว่ามันจะแห้ง กลิ่นที่ระเหยออกมาแมลงมันชอบครับ เคยเห็นผนังที่มีรอยขาแมลงสาบไหมล่ะครับ นั่นคือสิ่งที่อยากที่สุดในการคุมงาน PU เลยครับ

7. Polyurea ในประเทศไทย
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีการใช้ Polyurea อย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติที่หลากหลายอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและการรั่วซึมได้ 100% ทำให้เหมาะสมกับสภาพอากาศบ้านเราเป็นอย่างดีครับ ที่ไม่รู้เลยว่าวันนี้จะแดดออกหรือจะฝนตก ซึ่งจุดนี้เองทำให้การใช้งาน Polyurea แพร่หลายและเป็นวงกว้างในหลากหลายอุตสาหกรรมดังนี้ครับ

1. ท่อสารเคมี แก๊ส ในอุตสาหกรรม ท่อกันสนิม

2. ระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ เพราะไม่เกิดการสึกกร่อนจากกรดและสารเคมี

3. ถังคอนกรีตเก็บน้ำอุปโภคและบริโภค ซึ่งไม่ควรใช้กันซึมชนิดอื่นเพราะเกิดการละลายของสารเคมีออกมา มีเฉพาะ Polyurea ที่ไม่มีปัญหาและไม่เป็นพิษ

4. สระว่ายน้ำ ซึ่งกันซึมทุกประเภทไม่เหมาะสม

5. ดาดฟ้าอาคารขนาดใหญ่

6. อุโมง รถใต้ดิน สะพาน

7. หลังคาอาคารขนาดใหญ่เช่นอาคารสนามบิน ศูนย์การค้า ห้องเก็บเครื่องโสต ห้องเก็บเสียง ห้องเก็บวัสดุราคาแพง ห้องเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อาคารที่ต้องการกันซึมขนิดดีเยี่ยม

8. บ่อปลาราคาแพง เพราะไม่เป็นพิษ

9. ห้องใต้ดิน ที่ไม่มีวัสดุกันซึมทุกประเภทเหมาะสม

บอกตามตรงครับว่า Polyurea ปัจจุบันมีราคาที่สูง แต่ก็ยังได้รับนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะงานดาดฟ้า เพราะช่วยอุณหภูมิภายในตัวอาคารได้มากถึง 15 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของเครื่องปรับอากาศได้ในระยะยาว แถมยังช่วยลดเสียงดังที่เล็ดลอดเข้าสู่ตัวอาคารทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่พนักงานได้โดยตรง

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Polyurea เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทยแม้จะมีระคาที่สูง แต่ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสามารถในการทำงานได้มากในระยะยาว

8. คุณสมบัติที่ควรมีก่อนการตัดสินใจซื้อ
ข้อสุดท้ายก่อนจะจบบทความนี้ไป ผมเอาคุณสมบัติที่ดีของ Polyurea ที่ผู้อ่านทุกท่าน ควรนำมาประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้งาน Polyurea จากบริษัทใดก็ตาม

1. ต้องทนต่อสารเคมี

2. มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 10 ปี (แบบ Hybrid และ Pure ถ้าใช้เหมาะกับลักษณะงาน)

3. ทนต่อความร้อนและ UV ลดอุณหภูมิของหลังคาได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องเครื่องปรับอากาศ

4. ไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับสภาพแวดล้อมและสุขภาพของผู้คนโดยรอบ

5. สามารถป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี รวมถึงยืดอายุการใช้งานของพื้นผิวได้นานขึ้น

โปรโมชั่นต้อนรับหน้าฝน 10-30% สนใจสินค้าคลิกเลย

Visitors: 19,108